สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา
การสรุปสถานการณ์การพัฒนา
ผลการวิเคราะห์ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลสัมฤทธิ์
เป็นการประเมินโดยวิเคราะห์ถึงโอกาส และข้อจำกัดที่เป็นเหตุมาจากสภาวะแวดล้อมภายนอก (External Factors) ที่มีผลต่อการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลสัมฤทธิ์ รวมทั้งการวิเคราะห์ จุดอ่อน และจุดแข็งที่เป็นเหตุมาจากสภาวะแวดล้อมภายใน (Internal Factors) ซึ่งจะเป็นการประเมินว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีศักยภาพในการพัฒนาแค่ไหน เพียงใด สำหรับใช้เป็นประโยชน์ในการกำหนดการดำเนินการในอนาคต โดยใช้กระบวนการ SWOT Analysis ดังนี้
จุดแข็ง (S : Strength)
1) เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยว สถานที่ประวัติศาสตร์ คืออนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ มีการจัดงานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารีเป็นประจำ
2) พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสัมฤทธิ์ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน เหมาะกับการทำการเกษตร รวมทั้งพื้นที่ที่ทำการเกษตรมีระบบชลประทาน ได้แก่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์
3) มีทรัพยากรธรรมชาติใต้พื้นดิน คือแร่เกลือจำนวนมาก
4) ประชาชนมีความผูกพันฉันท์พี่น้อง อยู่อาศัยในลักษณะเครือญาติ
5) มีสถานศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษา, มัธยมศึกษา(โรงเรียนขยายโอกาส) และศูนย์การเรียนรู้ชุมชน(กศ.น.)
6) มีงบประมาณเป็นของตนเองและมีศักยภาพพอสมควรในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
จุดอ่อน (W: Weakness)
1) สภาพดินในฤดูแล้งประสบปัญหาดินเค็ม ทำให้ไม่สามารถทำการเกษตรให้ได้ผลดี
2) ขาดระบบการจัดการผังเมือง การกำหนดเขตพื้นที่การก่อสร้าง
3) พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรและเป็นที่อยู่อาศัย ไม่ค่อยมีการประกอบธุรกิจหรือการพาณิชย์ ทำให้การจัดเก็บรายได้เพื่อมาพัฒนาได้น้อย
4) ขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร เนื่องจากมีการอพยพไปทำงานในเมือง บางส่วนออกเร่ขายสินค้าต่างถิ่น เยาวชนเข้าทำงานในภาคอุตสาหกรรม
โอกาส (O: Opportunity)
1) พื้นที่อยู่ในเป้าหมายของยุทศาสตร์พัฒนาจังหวัดในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปสินค้าการเกษตรของการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ(CEO) จังหวัดนครราชสีมา
2) อยู่ในเป้าหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว
3) การได้รับการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางมากขึ้นจากการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อจำกัด (T : Threat)
1) ความแตกต่างทางฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่
2) การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง เนื่องจากไม่ได้มีการเก็บกักน้ำไว้ใช้และบริเวณต้นน้ำมีการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ
3) ราคาน้ำมันและปุ๋ยแพง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
4) ราคาสินค้าทางการเกษตรไม่แน่นอน |